sukanya026

sukanya026

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหา

คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหา

ชีวิตประจำวันของทุกคนต้องนึกคิด และจินตนาการต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญคือ ทุกคนต้องการกระทำในสิ่งที่ดีที่สุด ผู้ลงทุนการค้าก็หวังให้ได้กำไรสูงสุด ต้นทุนการผลิตต่ำ ขายสินค้าได้ดี การทำงานของทุกคนจึงต้องเผชิญกับปัญหา และหาทางแก้ปัญหาให้ดีที่สุด

ชีวิตตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งถึงเวลานอนอีกครั้ง ทุกคนจะต้องตัดสินใจ หาทางเลือก เลือกทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง เช่น เมื่อเดินทางมามหาวิทยาลัย บางคนมีทางเลือกได้หลายทาง เช่น จะขึ้นรถเมล์สายใดดี และจะลงต่อรถที่ใด เพื่อว่าจะได้เดินทางได้เร็วและสะดวก เมื่อมาที่โรงอาหาร ก็มีอาหารให้เลือกมากมาย จะเลือกทานอะไรดี เงื่อนไขของการตัดสินใจจึงมีมากมาย จะเลือกตามราคา เลือกตามความอยาก เลือกเพราะอยากลอง จะเห็นว่า ทุกขณะสมองของเราได้คิดและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เรามีการตัดสินใจและกระทำ เมื่อกระทำแล้วก็มีการประเมินผลหรือเรียนรู้ไว้เป็นประสบการณ์

หากพิจารณาถึงองค์กร ทุกองค์กรมีวัตถุประสงค์ มีผู้บริหารที่จะบริหารองค์กรให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้บริหารองค์กรจึงต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน และกำหนดนโยบาย ผู้บริหารต้องหาข้อมูล และใช้ประสบการณ์ในการดำเนินการ เพื่อตัดสินใจกำหนดทางเลือก ผู้บริหารขององค์กรจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญในการนำองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ การตัดสินใจผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายได้ ดังนั้น การตัดสินปัญหาจึงต้องอาศัยหลักการและข้อมูล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของทางเลือก และที่สำคัญคือ การลดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

ในระดับประเทศยิ่งต้องมีการตัดสินปัญหา และดำเนินการต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ การตัดสินใจของคณะผู้บริหารประเทศ โดยเฉพาะผู้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์สูงต่อส่วนรวม ดังจะ เห็นได้จากการตัดสินใจที่ผิดพลาดจากการต่อสู้ประกันค่าเงินบาท ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินตราและทุนสำรองของประเทศไปมากมายมหาศาล และส่งผลทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่มีผลอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแก้ปัญหา และหาทางเอาชนะปัญหา และความซับซ้อน
ลองนึกดูว่าเมื่อเราเล่นเกมหรือหมากรุกกับเพื่อน เราจะต้องคิดและแก้ปัญหาสถานการณ์ และสถานการณ์แต่ละครั้งอาจแปรเปลี่ยนไป
การแก้ปัญหาเหมือนการเล่นเกม ที่ทุกคนหวังที่จะได้ชัยชนะ การเลือกทางเดินแต่ละครั้งก็เพื่อที่จะหาทางที่ดีที่สุด แต่สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป การปรับแต่งและแก้ปัญหาจึงต้องขึ้นกับสถานการณ์ การดำเนินธุรกิจก็เหมือนกับการเล่นเกม ที่ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา และหาทางที่จะให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
เพื่อให้การแก้ปัญหาเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เรามาดูลักษณะของปัญหาที่มีอยู่ในโลก ปัญหาที่มีอยู่ในโลกพอแยกออกเป็น


--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา: รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


--------------------------------------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระบบการผลิตสื่อการสอน

1. สำรวจความต้องการ การผลิตสื่อเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ความต้องการของผู้ใช้อาจจะได้มาจากการแสดงความต้องการของผู้ใช้โดยตรง หรือจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ
2. กำหนดเป้าหมายการผลิต เมื่อทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว ก็จะนำเอาความต้องการมาประเมิน จัดลำดับความสำคัญ แล้วกำหนดเป้าหมายการผลิต
3. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายย่อมมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะบางประการ ผู้ผลิตจะต้องศึกษาแนวโน้มความแตกต่างของกลุ่มในด้านต่าง ๆ
4. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม การกำหนดจุดมุ่งหมายการผลิตสื่อ ควรกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมเพื่อให้สามารถตรวจสอบผลได้
5. วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา โดยนำเนื้อหาที่จะผลิตสื่อมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการจัดรูปแบบการนำเสนอและจัดลำดับเรื่องราว
6. เลือกประเภทสื่อที่จะผลิต เนื้อหาหนึ่ง ๆ อาจผลิตสื่อได้หลายประเภท ในการตัดสินใจว่าจะผลิตเป็นสื่อประเภทใดนั้น จะต้องนำมาพิจารณาหาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาองค์ประกอบเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการผลิต ลักษณะของเนื้อหา ขีดความสามารถในการผลิตของหน่วยงานผลิตหรือผู้ผลิต เป็นต้น
7. ผลิตสื่อ กระบวนการผลิตสื่อจะต้องแตกต่างกันไปตามประเภทของสื่อ เช่น สื่อประเภทเรื่องราวต่อเนื่อง ก็จะต้องจัดทำบัตรเรื่อง เขียนบท ถ่ายทำ บันทึกเสียง ถ้าเป็นสื่อประเภทวัสดุสามิติ ก็ต้องเขียนโครงร่างการออกแบบ ทำพิมพ์เขียวก่อน เป็นต้น
8. ทดลองเบื้องต้น เป็นการทดลองเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้น เช่น ภาษา ขนาด สัดส่วน และคุณภาพทางเทคนิคอื่น ๆ เป็นต้น อาจทำเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เป็นต้นว่า ทดลอง 1 คน 3 คน 6 คน
9. ทดลองภาคสนาม เป็นการนำสื่อไปทดลองกับกลุ่มผู้เรียนจริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล ประสิทธิภาพของสื่อนั้น ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดี ก่อนการนำออกไปใช้จริง
10. การนำไปใช้และปรับปรุง การนำสื่อที่ผ่านการทดลองภาคสนามแล้วไปใช้อาจจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรแก้ไขปรับปรุงเป็นระยะ